Loveliness.in.TH

น่ารักแค่ไหน ก็แพ้คนดีอย่างเขา

เช็คด่วน! คุณเป็นโรคเครียดหรือเปล่า และวิธีการรักษา

เช็คด่วน! คุณเป็นโรคเครียดหรือเปล่า และวิธีการรักษา

โรคเครียด

ในปัจจุบันมีคนป่วยโรคเครียดเพิ่มมากขึ้นทุกปี เนื่องจากปัจจัยในการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป มีความเร่งรีบมากขึ้น ปัญหาด้านการงาน ปัญหาด้านการเงิน สภาพแวดล้อม ด้านสุขภาพและด้านครอบครัวทำให้เกิดความเครียดมากกว่าเดิม โดยความเครียดคือแรงกดดันที่ได้รับทำให้จิตใจเกิดความขุ่นมัว เกิดความทุกข์ ไม่สดใส ไม่ร่าเริง หวาดระแวงและตื่นตระหนกได้ง่าย ซึ่งโรคเครียดเกิดจากอะไรและจะมีวิธีรักษาอย่างแบบไหนได้บ้างมาดูกันเลยดีกว่า

โรคเครียด เกิดจากอะไร

ความเครียดเกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ความเครียดเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเผชิญในการดำรงชีวิต การวิจัยพบว่าทุกครั้งที่มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น ร่างกายของคนเราจะมีการตอบสนองมีการหดตัว เคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งเกิดขึ้นเสมอ เมื่อร่างกายเกิดความเครียดเกิดขึ้นร่างกายจะเตรียมความพร้อม เช่น จะสู้ หรือจะ หนี ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงทันทีเช่น

  • หัวใจเต้นเร็วขึ้น เพื่อฉีดเลือดและนำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ในร่างกายต่างๆ พร้อมขจัดของเสียออกจากกระแสเลือด
  • หายใจเร็วขึ้นแต่เป็นการหายใจสั้น ๆ
  • มีการขับอดรีนาลีนและฮอร์โมนต่างๆ เข้าสู่กระแสเลือด
  • กล้ามเนื้อหดเกร็งเพื่อเตรียมความพร้อมเคลื่อนไหว จะสู้หรือหนี
  • เหงื่อออกเพราะเมื่อเกิดความเครียดจะมีการเผาผลาญพลังงานมากขึ้น
  • เมื่อผ่านเหตุการณ์ความเครียดไปร่างกายจะกลับเข้าสู่โหมดปกติ

สาเหตุโรคเครียด

ในการใช้ชีวิตในปัจจุบันทำให้มนุษย์เกิดความเครียดมากยิ่งขึ้น ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดนั้นมีด้วยกันหลายสาเหตุดังนี้

  • สภาพแวดล้อม อย่างเช่น มลภาวะจากเครื่องจักร จากรถยนต์ จากท่อไอเสีย และจากฝุ่นละออง
  • สภาพเศรษฐกิจ อย่างเช่น มีรายได้น้อยไม่เพียงพอกับรายจ่าย
  • สภาพแวดล้อมทางสังคมที่มีการแข่งขันมากขึ้น
  • สัมพันธภาพกับคนอื่นๆ ไม่ราบรื่น มีความขัดแย้ง หรือทะเลาะเบาะแว้งกับเพื่อนร่วมงานและคนในครอบครัว
  • ความรู้สึกที่ไม่พอใจในตนเองที่รู้สึกว่าต่ำต้อยด้อยค่ากว่าคนอื่น
  • เคยเผชิญกับเหตุการณ์ที่เร็วร้ายในอดีต
  • มีประวัติป่วยเป็นโรคซึมเศร้า
  • พบเจอกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ
  • หรือได้รับข่าวที่ร้ายแรงแบบกะทันหันโดยที่ไม่ทันได้ตั้งตัว และอื่นๆ เป็นต้น

อาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคเครียด

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเครียดมักจะมีอาการที่เปลี่ยนไปโดยที่บางทีตัวเองก็ยังไม่รู้ตัวว่ามีพฤติกรรมดังกล่าวได้อย่างไร โดยคนที่ป่วยเป็นโรคเครียดมักจะมีอาการที่บ่งบอกแสดงออกมาอย่างเช่น

  • มีพฤติกรรมที่ชอบแยกตัวออกมา มักจะเกิดอาการมึนงง หลงๆ ลืมๆ สติไม่ค่อยอยู่กับเนื้อกับตัว และรู้สึกว่าเวลาเดินช้าลง
  • ผู้ป่วยจะมีอาการที่นอนหลับยาก มีความโกรธหรือโมโหได้ง่าย มีพฤติกรรมก้าวร้าวขึ้นและไม่มีสมาธิจดจ่อต่องานที่กำลังทำอยู่
  • มักจะเห็นภาพเหตุการณ์ที่ร้ายแรงซ้ำๆ หรือจะมีอาการฝันร้ายเป็นประจำ กับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต
  • มีอารมณ์ขุ่นมัว มักแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกมาเชิงลบ อารมณ์ไม่ดี ไม่ร่าเริงแจ่มใส รู้สึกมีความทุกข์อยู่ตลอดเวลา
  • วิตกกังวลง่าย และมีความอ่อนไหวต่อสิ่งเร้าต่างๆ

วิธีการรักษา

การรักษาโรคเครียดที่ดีที่สุดคือผู้ป่วยจะต้องเปิดใจและต้องพูดคุยระบายกับคนในครอบครัวและเพื่อนฝูง เพื่อระบายความเครียดออกมา แต่ถ้ายังไม่หายและยังมีความเครียดเรื้อรังควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง โดยจะมีรายละเอียดดังนี้

  • ปรึกษาแพทย์ หรือจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เป็นอีกวิธีที่รักษาโรคเครียดได้ดีและมีประสิทธิภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะรับมือกับสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด รวมถึงช่วยจัดการให้ผู้ป่วยจัดการอาการของโรคที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี
  • บำบัดความคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเครียดที่เกิดจากความวิตกกังวล การบำบัดความคิดและพฤติกรรมเป็นวิธีจิตบำบัดที่มีแนวคิดและความคิดบางอย่างของผู้ป่วยที่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยปัญหาสุขภาพจิต ผู้ป่วยโรคเครียดอาจจะทำการบำบัดระยะสั้น โดยแพทย์จะทำการพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกและความคิดของผู้ป่วย ช่วยทำให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าความคิดบางอย่างนั้นไม่ถูกต้อง และสามารถปรับทัศนคติของผู้ป่วยที่มีต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว รวมถึงเปลี่ยนมุมมองทุกอย่างให้ตรงตามความเป็นจริงอย่างถูกต้อง
  • ใช้ยาในการรักษา โดยแพทย์จะทำการจ่ายยาให้ผู้ป่วยที่มีอาการโรคเครียดบางราย โดยจะได้รับการรักษาด้วยยาระยะสั้นๆ เพื่อบรรเทาอาการโรคเครียด ปัญหาการนอนหลับ อาการซึมเศร้า โดยใช้ยารักษา

การป้องกันโรคเครียด

โรคเครียดเป็นปัญหาที่ป้องกันได้ยาก เนื่องจากว่าความเครียดเกิดมาได้จากหลายสาเหตุและเกิดขึ้นได้กับทุกสถานการณ์ที่ไม่ได้คาดคิด เพราะฉะนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคเครียดควรดูแลตัวเองเพื่อไม่ทำให้แย่ลงกว่าเดิมเท่านั้น โดยสามารถปฏิบัติตามดังนี้

  • หลังจากเผชิญเหตุการณ์ที่เลวร้าย ต้องรีบเข้าการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อลดโรคเครียด
  • ปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อรับมือกับโรคเครียด และลดโอกาสเสี่ยงเป็นโรคเครียด
  • ฝึกหายใจลึกๆ ทำสมาธิ เล่นโยคะ หรือไปนวดเพื่อผ่อนคลาย รวมทั้งพยายามทำจิตใจให้ผ่องใส
  • หมั่นออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ได้เคลื่อนไหวร่างกาย
  • ออกไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูงหรือญาติพี่น้องเสมอ
  • หากิจกรรมทำให้ผ่อนคลายอย่างเช่นการดูหนังฟังเพลง
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงบุหรี่ และสิ่งเสพติดมึนเมาอื่นๆ

โรคเครียดถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพ เพราะความเครียดก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาได้ หากรู้ตัวว่ากำลังเป็นโรคเครียดอยู่จนเกิดอาการทางร่างกาย แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อหยุดโรคเครียด ไม่ให้รุนแรงมากไปกว่าเดิม เพราะหากปล่อยไว้อาจพัฒนาจนกลายเป็นโรคร้ายอื่นๆ ได้นั่นเอง